การเดินทางครั้งสุดท้าย ของ กัลฟ์ไลฟ์สต็อก 1

ในการเดินทางครั้งสุดท้าย เรือกัลฟ์ไลฟ์สต็อก 1 ได้บรรทุกปศุสัตว์ไปทั้งสิ้น 5,867 ตัว เป็นเรือในสังกัดของบริษัทกัลฟ์เนวิเกชันโฮลดิง ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[3] เรือเดินทางออกจากเมืองเนเพียร์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในวันที่ 14 สิงหาคม มีกำหนดถึงท่าเรือจิงถัง เมืองถังชาน ประเทศจีนในวันที่ 11 กันยายน 2563[4]

เรือได้ส่งสัญญาณฉุกเฉินจากทะเลจีนตะวันออก ทางตะวันตกของเกาะอะมามิ โอชิมะของประเทศญี่ปุ่น ในเวลา 01:40 น. ของวันที่ 2 กันยายน 2563 ตามเวลาท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น (16:40 UTC วันที่ 1 กันยายน 2563)[1][5] ผู้รอดชีวิตที่ได้รับการกู้ภัยเป็นคนแรก ระบุว่าเครื่องยนต์หลักเพียงเครื่องเดียวของเรือล้มเหลว ด้วยทะเลที่รุนแรงจากพายุไต้ฝุ่นไมสัก จากนั้นเรือได้จมลงหลังจากถูกคลื่นซัด[3] โดยก่อนที่เรือจะอับปางลง กัปตันเรือวัย 34 ปีชาวฟิลิปปินส์ ได้ส่งข้อความไปบอกภรรยาทันที ว่าพายุไต้ฝุ่นอันเลวร้ายได้ทำให้เครื่องยนต์ของเรือล้มเหลว[6]

โดยบนเรือนั้นบรรทุกลูกเรือไปทั้งสิ้น 43 คน เป็นชาวฟิลิปปินส์ 39 คน ชาวนิวซีแลนด์ 2 คน และ ชาวออสเตรเลีย 2 คน ซึ่งชาวออสเตรเลียทั้งสองคนนั้นเป็นสัตวแพทย์และผู้จัดการสต็อก[5]

วันที่ 2 กันยายน มีการกู้ชีพหัวหน้าลูกเรือวัย 45 ปี ชาวฟิลิปปินส์ขึ้นมาได้อีกหนึ่งคนโดยรักษาความปลอดภัยชายฝั่งญี่ปุ่น[1] วันที่ 4 กันยายน มีการพบตัวลูกเรือคนที่สองซึ่งไม่มีการตอบสนองต่อหน่วยยามฝั่ง และเสียชีวิตลงไม่นานหลังจากได้รับการกู้ภัย[7] ในบริเวณเดียวกันนั้น ยังสามารถกู้ซากวัวขึ้นมาได้อีกหลายตัวรวมถึงเสื้อชูชีพอีกจำนวนหนึ่งด้วย[8] ผู้รอดชีวิตรายที่สอง เป็นกลาสีปากเรือ (deckhand) วัย 30 ปีชาวฟิลิปปินส์ที่อยู่ในแพชูชีพ ซึ่งได้รับการกู้ภัยในช่วงบายสองโมงของวันที่ 4 กันยายน[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: กัลฟ์ไลฟ์สต็อก 1 https://www.news.com.au/world/australians-caught-o... https://www.abc.net.au/news/2020-09-03/missing-liv... https://www.abc.net.au/news/2020-09-04/live-export... https://www.marinetraffic.com/ais/details/ships/im... https://www.reuters.com/article/us-japan-newzealan... https://www.theguardian.com/world/2020/sep/03/typh... https://www.theguardian.com/world/2020/sep/04/japa... https://www.nzherald.co.nz/nz/news/article.cfm?c_i...